Monthly Archives: พฤศจิกายน 2012

อุทยานแห่งชาติภูเวียง

พฤศจิกายน 30, 2012 ไปเที่ยวกัน จังหวัดขอนแก่น

อุทยานแห่งชาติภูเวียง คำว่า “ภูเวียง” เป็นท้องที่อำเภอที่เก่าแก่ของจังหวัดขอนแก่นอำเภอหนึ่ง และยังเป็นชื่อเรียกของเทือกเขาซึ่งปัจจุบันได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ป่าภูเวียงให้เป็นอุทยานแห่งชาติ อยู่ในท้องที่อำเภอภูเวียง อำเภอสีชมพู อำเภอชุมแพ อำเภอหนองนาคำ และอำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น มีหลักฐานว่าป่าภูเวียงเคยเป็นแหล่งชุมชนโบราณที่มีอารยธรรมเมื่อหลายพันปีล่วงมาแล้ว มีการขุดพบกระดูกมนุษย์โบราณ เครื่องมือ เครื่องใช้ โลหะสำริด พระนอนสมัยทวาราวดี รวมทั้งภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ถ้ำ (หลืบเงิน) บนเทือกเขาภูเวียง นอกจากนั้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2519 มีการค้นพบรอยเท้าและซากกระดูกไดโนเสาร์ และสัตว์โลกดึกดำบรรพ์อายุเกือบ 200 ล้านปี ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระทัยและเสด็จทอดพระเนตร เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2532 อุทยานแห่งชาติภูเวียง มีลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเทือกเขาล้อมรอบเป็นวงอยู่ 2 ชั้น ตรงกลางเป็นแอ่งขนาดใหญ่ คล้ายแอ่งกระทะซึ่งเป็นที่ราบและลอนลาด ส่วนพื้นที่โดยรอบแอ่งมีลักษณะเป็นเทือกเขาซึ่งมีมุมเทเข้าหาใจกลางแอ่ง ประกอบด้วยเทือกเขาที่มีความลาดชันปานกลางถึงลาดชันสูง เทือกเขาชั้นนอกสุดมียอดเขาสูงสุด 844 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง บริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพื้นที่ และเทือกเขาชั้นในมียอดเขาสูงสุด 470 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง บริเวณทิศเหนือของพื้นที่เทือกเขาชั้นในนี่เองที่เป็นแหล่งฟอสซิลไดโนเสาร์ ส่วนระดับต่ำสุดของเชิงเขาอยู่ระดับ 210 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง อุทยานแห่งชาติภูเวียง ตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราชมีลักษณะเป็นหินชั้น ซึ่งเกิดจากการสะสมตัวของตะกอนบนแผ่นดินหนากว่า 4,000 เมตร ชั้นของหินตะกอนมักมีสีแดงเกือบทั้งหมดเรียกว่าหินชั้นตะกอนแดง หรือกลุ่มหินโคราช ประกอบด้วย หน่วยหินเขาพระวิหาร หินเสาขัว หินภูพาน และหินโคกกรวด หินดังกล่าวถูกปกคลุมด้วยตะกอนร่วนและดินยุคควอเทอร์นารี่ และยุคปัจจุบัน ซึ่งในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูเวียงนั้นยังมีการสำรวจสายแร่ยูเรเนียมในพื้นที่อีกด้วย อุทยานแห่งชาติภูเวียงเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของห้วยทรายขาวซึ่งจะไหลลงลำน้ำพอง ห้วยบั้งทิ้ง ห้วยน้ำไหล ซึ่งจะไหลลงลำน้ำเชิญ ห้วยเรือ ห้วยขุมปูน ห้วยน้ำบอง และห้วยมะนาว ซึ่งจะไหลลงห้วยบอง ทั้งลำน้ำพอง หัวยบอง และลำน้ำเชิญ จะไหลลงอ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์ อุทยานแห่งชาติภูเวียงได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ จึงแบ่งออกเป็น 3 ฤดู ดังนี้ ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม – เมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดในเดือนเมษายน 36.5 องศาเซลเซียส ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม [...] อุทยานแห่งชาติภูเวียง

ภูหินด่าง

พฤศจิกายน 30, 2012 ไปเที่ยวกัน จังหวัดอุบลราชธานี

ภูหินด่าง อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย จังหวัดอุบลราชธานี ภูหินด่าง พื้นที่เป็นภูเขาหินทรายที่ประกอบไปด้วยป่าลานหินที่มีลักษณะทางธรณีวิทยาที่สวยงามแปลกตา แตกต่างไปจากที่อื่น ได้แก่ ลานหินงอก ลานหิน เป็นระแหง แอ่งหินเว้า และ ร่องหินแยก ตามเส้นทางเดินป่าไปสู่ยอดภูเต็มไปด้วยต้นกล้วยไม้ป่านานาชนิดและดอกไม้หลากสีที่ขึ้นอยู่ตามลานหิน แตกต่างกันตามฤดูกาลจากจุดชมวิวบริเวณหน้าผา สามารถมองเห็นพระอาทิตย์ขึ้นในยามเช้ารวมทั้งทะเลหมอกในฤดูหนาว ชมทัศนียภาพที่สวยงามแปลกตาของพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง และสภาพป่าในเขตประเทศลาวและกัมพูชาที่อยู่เบื้องล่าง ที่ผนังหินใต้เพิงผาปรากฏแทบสีแดงและสีชมพูอยู่หลายแห่งซึ่งเป็นที่มาของชื่อ“ภูหินด่าง” ภูหินด่างแห่งนี้ เหมาะสำหรับการกางเต็นท์พักแรม อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 51 กิโลเมตร โดยการเดินทางเข้าภูหินด่างต้องติดต่อเจ้าหน้าที่นำทาง การเดินทางไปภูหินด่าง ใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2248 จากอำเภอนาจะหลวยถึงบ้านห้วยข่า เลี้ยวเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2254 ถึงบ้านหนองเม็ก มีทางลูกรังแยกไปทางซ้าย เมื่อถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ภจ. 5 (พลาญมดง่าม) ต้องขึ้นเขาชันอีกประมาณ 10 กิโลเมตร ก็จะถึงภูหินด่าง ภูหินด่าง

ผาแต้ม

พฤศจิกายน 29, 2012 ไปเที่ยวกัน จังหวัดอุบลราชธานี

ผาแต้ม อุทยานแห่งชาติผาแต้ม เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยูทางตะวันออกสุดของประเทศไทย เป็นสถานที่รับชมพระอาทิตย์ขึ้นได้เป็นจุดแรกของประเทศไทย ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ของจังหวัดอุบลราชธานี จุดที่น่าสนใจคือภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ผาแต้ม ผาหมอน ผาลาย ประติมากรรมธรรมชาติเสาเฉลียง และจุดชมพระอาทิตย์แสงแรกแห่งสยาม อุทยานแห่งชาติผาแต้มมีพื้นที่ราว 340 ตารางกิโลเมตร (212,500 ไร่) อุทยานแห่งชาติผาแต้ม มีสภาพพื้นที่เป็นเทือกเขาติดต่อกันลักษณะสูงๆ ต่ำๆ สลับกันไปทั่วพื้นที่ ระดับความสูงของพื้นที่อยู่ระหว่าง 100-600 เมตรจากระดับน้ำทะเล แนวเขตด้านทิศตะวันออกใช้เส้นแบ่งเขตแดนประเทศและติดกับประเทศลาว ซึ่งมีแม่น้ำโขงเป็นแนวเขตโดยตลอดความยาวประมาณ 63 กิโลเมตร สภาพพื้นที่โดยรวมเป็นลานหิน รอบแนวเขตถัดจากฝั่งแม่น้ำโขงจะเป็นหน้าผาสูงชัน มีภูผาที่สำคัญได้แก่ ภูผาขาม ภูผาเมย ภูผาเจ็ก ภูผาสร้อย ภูย่าแพะ ภูชะนะได ภูผานาทาม ภูโลง ภูปัง ภูจันทร์แดง ภูหลวง ภูสมุย และภูกระบอ เป็นต้น อุทยานแห่งชาติผาแต้มเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของห้วยช้าง ห้วยภูโลง ห้วยฮุง ห้วยลาน ห้วยเพราะ ห้วยแยะ ห้วยกวย ห้วยกะอาก ห้วยใหญ่ ห้วยสูง และห้วยหละหลอย สภาพอากาศของอุทยานแห่งชาติผาแต้มสามารถแบ่งออกเป็น 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือน มิถุนายน – กันยายน ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือน ตุลาคม–กุมภาพันธ์ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน มีนาคม–พฤษภาคม อุณหภูมิในแต่ละฤดูแตกต่างกันอย่างมาก ในฤดูฝนจะมีพายุฝนฟ้าคะนองอยู่บ่อยๆ ในฤดูหนาวอากาศเย็นและแห้งแล้ง ความชื้นในบรรยากาศมีน้อย ในฤดูร้อนอากาศร้อนจัด ต้นไม้ใบหญ้าแห้ง ผาแต้ม

แก่งตะนะ

พฤศจิกายน 29, 2012 ไปเที่ยวกัน จังหวัดอุบลราชธานี

แก่งตะนะ อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ อยู่ท้องที่อำเภอโขงเจียม และ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี สภาพ พื้นที่ทั่วไปเป็นที่ราบและเนินเขาเตี้ยๆ โดยมียอดเขาบรรทัดเป็นจุดสูงสุด ความสูงประมาณ 543 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีแม่น้ำมูลและแม่น้ำโขงไหลผ่านตามแนวเขตทางด้านทิศเหนือไปออกประเทศลาว บริเวณแก่งตะนะจะมีสายน้ำที่เชี่ยวและลึก อีกทั้งยังมีถ้ำใต้น้ำหลายแห่ง จึงทำให้มีปลาอาศัยอยู่ชุกชุม ตรงกลางมีโขดหินขนาดใหญ่เป็นเกาะกลาง มีเนื้อที่ประมาณ 50,000 ไร่ หรือ 80 ตารางกิโลเมตร สภาพพื้นที่ทั่วไปจะเป็นที่ราบ เป็นเขาเตี้ยๆ มีแม่น้ำมูล แม่น้ำโขง ไหลผ่าน ความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 200 เมตรจากระดับน้ำทะเล ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ ยอดเขาบรรทัด สูงประมาณ 543 เมตร สภาพป่าทั่วไปเป็นป่าแพะหรือป่าแดง จะมีป่าดิบเฉพาะบริเวณริมห้วยใหญ่เท่านั้น สภาพพื้นที่ส่วนมากเป็นหินทรายและพื้นที่ศิลา ส่วนดินเป็นดินลูกรัง ดินบรบือ และดินตะกอน อากาศจัดอยู่ในเขตลมมรสุม แต่เนื่องจากอยู่ใกล้แม่น้ำสำคัญสายใหญ่ 2 สาย คือ แม่น้ำมูล และแม่น้ำโขง อากาศจึงแตกต่างจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั่วไป คือ ฤดูร้อน อากาศจะไม่ร้อนจนเกินไป อยู่ในราว 25-29 องซาเซลเซียส ฤดูหนาว ไม่หนาวจัด ส่วนฤดูฝน ฝนตกค่อนข้างชุก สามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี ในฤดูฝนและฤดูหนาวจะมีผู้มาเที่ยวชมแม่น้ำมูล แม่น้ำโขงและน้ำตกต่างๆ ส่วนในปลายฤดูหนาวและฤดูร้อน นิยมมาเที่ยวชมแก่งต่างๆ อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ อยู่ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานีประมาณ 90 กิโลเมตร และสามารถเดินทางมาได้ 2 เส้นทาง คือ • จากจังหวัดอุบลราชธานีไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 217 ผ่านอำเภอวารินชำราบ กิ่งอำเภอสว่างวีระวงศ์ ถึงอำเภอพิบูลมังสาหาร แยกเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2173 ผ่านอำเภอสิรินธร ถึงสามแยกตลาดนิคม 2 เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2296 สุดทางจะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ • จากจังหวัดอุบลราชธานีไปตามเส้นทางเดียวกับเส้นทางแรก เมื่อถึงอำเภอพิบูลมังสาหารเลี้ยวซ้ายข้ามสะพานพิบูลมังสาหาร 200 ปี เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2222 (ถนนพิบูลมังสาหาร-โขงเจียม) 1. ก่อนถึงอำเภอโขงเจียม ประมาณ 4 กม. [...] แก่งตะนะ

อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ

พฤศจิกายน 28, 2012 ไปเที่ยวกัน จังหวัดมุกดาหาร

อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ ตั้งอยู่ท้องที่ อำเภอเมืองและอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร มีสภาพป่าที่สมบูรณ์ มีป่าเต็งรังบริเวณลานหินหรือภูเขาหิน และในฤดูฝนต่อฤดูหนาวจะเต็มไปด้วยไม้ดอกงดงามนานาชนิด ป่าเบญจพรรณบริเวณหุบเขา มีปรากฏการณ์และธรรมชาติที่สวยงาม หินมีลักษณะหรือรูปทรงแปลกๆ ถ้ำที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ น้ำตกและน้ำซับตลอดปี ตลอดจนมีสัตว์ป่านานาชนิด มีเนื้อที่ประมาณ 30,312.5 ไร่ หรือ 48.5 ตารางกิโลเมตร สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงชันหลายเทือกเขาติดต่อกัน คือ ภูนางหงษ์ ภูถ้ำพระ ภูหลังเส ภูหินเทิบ ภูหมากยาง ภูโป่ง ภูมโน มียอดเขาภูจอมศรีเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด คือ สูงประมาณ 420 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีสภาพเป็นภูเขาหินตลอดทั้งมีหินกว้างยาวและหินทับซ้อนกันในรูปต่างๆ หน้าผาสูงชัน และดินส่วนใหญ่เป็นดินปนทราย เป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำหลายสาย เช่น ห้วยสิง ห้วยสะพาย ห้วยตาเหลือก ห้วยบอน ห้วยช้างชน ห้วยเรือ ห้วยไค้ และ ห้วยมะเล เป็นต้น อุทยานแห่งชาติมีสภาพภูมิอากาศแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ระหว่าง เดือนมิถุนายน – เดือนพฤศจิกายน ฤดูหนาว ระหว่าง เดือนธันวาคม – เดือนมกราคม ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เดือนพฤษภาคม การเดินทางไปภูผาเทิบ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ ตั้งอยู่บริเวณภูผาเทิบ อยู่ห่างจากอำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ประมาณ 17 กิโลเมตร โดยเดินทางไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 2034 สายมุกดาหาร – อำเภอดอนตาล ประมาณ 14 กิโลเมตร เป็นถนนลาดยาง แล้วเลี้ยวขวาอีก 2 กิโลเมตร จะถึงอุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ

ภูสวนทราย

พฤศจิกายน 28, 2012 ไปเที่ยวกัน จังหวัดเลย

ภูสวนทราย สัมผัสอากาศหนาวเย็น กางเต็นท์ในอุทยานฯ สูงที่สุดในอีสาน ที่…อุทยานฯภูสวนทราย (นาแห้ว) อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย (นาแห้ว) ตั้งอยู่ในเขตอำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลนาแห้ว ตำบลแสงภา ตำบเหลล่ากอหก อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย มีเนื้อที่ประมาณ 73,225 ไร่ หรือ 117.16 ตารางกิโลเมตร ด้วยสภาพขุนเขาที่สูงสลับซับซ้อนกันในพื้นที่ อำเภอนาแห้ว ประกอบกับเป็นผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ สภาพป่าโดยส่วนใหญ่เป็นป่าดิบชื้น ซึ่งมีที่ราบน้อย จุดที่สูงที่สุดประมาณ 1,408 เมตร จากระดับน้ำทะเล สภาพอากาศค่อนข้างเย็นสบายตลอดปี เนื่องจากความสมบูรณ์ของป่าธรรมชาติซึ่งมีพันธุ์ไม้อยู่หนาแน่น ในช่วงฤดูหนาวอากาศค่อนข้างจะหนาวเย็น สภาพอากาศค่อนข้างเย็นสบายตลอดปี เนื่องจากความสมบูรณ์ของป่าธรรมชาติซึ่งมีพันธุ์ไม้อยู่หนาแน่น ในช่วงฤดูหนาวอากาศค่อนข้างจะหนาวเย็น ภูสวนทราย

ภูกระดึง

พฤศจิกายน 27, 2012 ไปเที่ยวกัน จังหวัดเลย

ภูกระดึง อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ตั้งอยู่ที่อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของประเทศไทย เนื่องจากมีธรรมชาติที่สวยงาม ในแต่ละปีมีคนมาเที่ยวเฉลี่ยหลายหมื่นคน โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดยาวมักมีนักท่องเที่ยวขึ้นไปพักผ่อนบนภูกระดึงจำนวนมาก ภูกระดึงได้รับการจัดตั้งเป็นป่าสงวนแห่งชาติในปี พ.ศ. 2486 และเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2502 โดยเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่สองถัดจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ครอบคลุมพื้นที่ 348.12 ตารางกิโลเมตร (217,575 ไร่) ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหินทรายยอดตัด โดยมีที่ราบบนยอดภูกระดึง ประมาณ 60 ตารางกิโลเมตร (37,500 ไร่) มีความสูงอยู่ระหว่าง 400-1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล จุดสูงสุดอยู่ที่บริเวณคอกเมย มีความสูง 1,316 เมตร ในช่วงฤดูฝน มักเกิดภัยธรรมชาติ เช่น เกิดการพังทะลายของภูเขาและมีน้ำป่า ทางอุทยานแห่งชาติจึงกำหนดให้ปิด-เปิดการท่องเที่ยวเฉพาะบนยอดเขาภูกระดึง เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว และให้สภาพธรรมชาติและสภาพแวดล้อมได้มีการพักฟื้นตัว หลังจากนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมอย่างมากในแต่ละปี ดังนี้ ปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน – 30 กันยายน ของทุกปี เปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม – 31 พฤษภาคม ของทุกปี การเดินทางไปภูกระดึง รถยนต์ เดินทางโดยรถยนต์ สามารถเดินทางได้หลายเส้นทาง 1) เดินทางผ่านจังหวัดสระบุรี เพชรบูรณ์ อำเภอหล่มสัก หล่มเก่า ด่านซ้าย ภูเรือ และอำเภอเมืองเลย เลี้ยวเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 (เลย-ขอนแก่น) และเลี้ยวเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2019 เข้าสู่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง 2) ใช้เส้นทางผ่านจังหวัดสระบุรี นครราชสีมา จนถึงจังหวัดขอนแก่นเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 ผ่านอำเภอภูผาม่าน และตำบลผานกเค้า เข้าสู่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง 3) เดินทางผ่านจังหวัดสระบุรี อำเภอปากช่อง เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 201 ผ่านจังหวัดชัยภูมิ อำเภอภูเขียว แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข [...] ภูกระดึง

ภูหลวง

พฤศจิกายน 27, 2012 ไปเที่ยวกัน จังหวัดเลย

ภูหลวง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย ภูหลวงมีความหมายว่าภูเขาที่ยิ่งใหญ่ หรือหมายถึงภูเขาของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งนับเป็นสิริมงคลนามที่บรรพบุรุษได้ตั้งชื่อไว้ ภูหลวงเกิดจากการยกตัวของพื้นผิวโลก และดินส่วนที่อ่อนถูกพัดพาลงสู่พื้นที่ส่วนต่ำ คงเหลือหินซึ่งเป็นโครงสร้างที่แข็งไว้เป็นภูเขา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ตั้งอยู่ในท้องที่จังหวัดเลย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปลาบ่า ตำบลท่าศาลา อำเภอภูเรือ ตำบลโพนสูง ตำบลวังยาว ตำบลอีปุ่ม อำเภอด่านซ้าย ตำบลหนองงิ้ว ตำบลเขาหลวง ตำบลทรายขาว อำเภอวังสะพุง และตำบลภูหอ ตำบลเลยวังไสย์ อำเภอภูหลวง ภูหลวง

น้ำตกทีลอซู

พฤศจิกายน 26, 2012 ไปเที่ยวกัน จังหวัดตาก, เที่ยวเมืองไทย

น้ำตกทีลอซู น้ำตกทีลอซู ตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ห่างจากที่ทำการเขตฯ 3 กิโลเมตร ทีลอซู เป็นภาษากะเหรี่ยง แปลว่า น้ำตกดำ มีลักษณะเป็นน้ำตกภูเขาหินปูนขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนความสูงจากระดับน้ำทะเล 900 เมตร เกิดจากลำห้วยกล้อท้อ ลำน้ำทั้งสายตกลงสู่หน้าผาสูงชัน มีน้ำไหลแรงตลอดปี ความกว้างของตัวน้ำตกประมาณ 500 เมตร ไหลลดหลั่นเป็นชั้น ๆ มีความสูงประมาณ 300 เมตร ล้อมรอบด้วยป่าดงดิบที่สมบูรณ์ เป็นน้ำตกที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ของเอเชีย ตามความจริงต้องออกเสียงว่า “ทีลอชู” และเป็นคำนามในภาษากะเหรี่ยงแปลว่า “น้ำตก” ชื่อ “ทีลอซู” เป็นความพยายามแปลความหมายทีละคำ โดย “ที” หรือ “ทิ” แปลว่า “น้ำ” “ลอ” หรือ “ล่อ” แปลว่า “ตก” แต่ “ชู” ไม่มีความหมายใกล้เคียง ดังนั้น จึงมีความพยายามทำให้เป็นคำที่มีความหมาย เนื่องจาก “ซู” แปลว่า “ดำ” จึงนำไปสู่การเรียกว่า “ทีลอซู” และแปลว่า “น้ำตกดำ” ทีลอซู ได้รับคำกล่าวขานถึงว่าเป็นน้ำตกที่สวยงาม และมีความสวยงามเป็นพิเศษในช่วงฤดูฝน ระหว่าง 1 มิ.ย. – 31 พ.ย. ปริมาณน้ำฝนที่มากจะเพิ่มปริมาณน้ำในลำธารทำให้สายน้ำตกกว้างใหญ่กว่าฤดูอื่น แต่เป็นช่วงที่ทางรถเข้าน้ำตกปิด เพื่อป้องกันอันตรายแก่ผู้ใช้เส้นทางและถนอมสภาพทางไม่ให้เสียหาย นักท่องเที่ยวอาจเลี่ยงใช้เส้นทางนี้ได้ โดยการซื้อทัวร์กับบริษัทนำเที่ยวซึ่งจะเดินทางด้วยเรือยางและเดินป่าอีกราว 12 กม. แต่หากมาท่องเที่ยวช่วงฤดูหนาว – ฤดูร้อนระหว่าง 1 ธ.ค. – 31 พ.ค. ก็สามารถใช้ทางรถยนต์เข้าน้ำตกได้ จึงเป็นช่วงเวลาที่เที่ยวได้สะดวกที่สุด ไม่ว่าจะเที่ยวแบบไปกลับหรือพักค้างแรม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้กำหนดให้น้ำตกทีลอซู เป็นหนึ่งในเก้าตะวัน ตามโครงการมหัศจรรย์เมืองไทย 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน โดยมีจุดเด่นคือ [...] น้ำตกทีลอซู

อุทยานแห่งชาติแม่เมย

พฤศจิกายน 25, 2012 ไปเที่ยวกัน จังหวัดตาก, เที่ยวเมืองไทย

อุทยานแห่งชาติแม่เมย อุทยานแห่งชาติแม่เมย ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ ป่าท่าสองยาง ในท้องที่ตำบลแม่สอง และตำบลแม่อุสุ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 40 ก ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2542 มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 115,800 ไร่ หรือ 185.28 ตารางกิโลเมตร ในท้องที่ตำบลแม่อุสุนั้น เดิมเป็นวนอุทยานถ้ำแม่อุสุ มีอาณาเขตทิศเหนือจดแม่น้ำเมย ทิศใต้จดห้วยโป่งและห้วยม่วง ทิศตะวันออกจดห้วยพูลซะ ห้วยพอนอโก ตามทางหลวงสายแม่สอด-แม่สะเรียง ทิศตะวันตกจดแม่น้ำเมย ในท้องที่ตำบลแม่สอง เดิมเป็นพื้นที่ป่าสัมปทานเก่า อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าท่าสองยาง มีอาณาเขตติดต่อดังต่อไปนี้ คือ ทิศเหนือจดทางหลวงสายแม่สลิด – อมก๋อย ทิศใต้จดลำน้ำแม่สองและทางหลวงสายแม่สอด–แม่สะเรียง ทิศตะวันออกจดห้วยแม่หลุยและลำน้ำแม่สอง ทิศตะวันตกจดแม่น้ำเมย อุทยานแห่งชาติแม่เมย ส่วนมากเป็นภูเขาสลับซับซ้อนมีที่ราบน้อยมาก โดยมีความสูงเฉลี่ย 680 เมตร จากระดับน้ำทะเล จุดสูงสุด 1,250 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ปกคลุมไปด้วยป่าไม้ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ไม้ใหญ่มีน้อย เป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญของลำน้ำแม่สอง ลำน้ำแม่อุสุ ลำน้ำแม่สลิดหลวง และแม่น้ำเมย อุทยานแห่งชาติแม่เมย จะมีฝนตกชุกมากในฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – เดือนตุลาคม ซึ่งไม่เหมาะสมต่อการท่องเที่ยว ฤดูร้อนอากาศค่อนข้างอบอุ่น และจะหนาวถึงหนาวจัดในฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่เหมาะแก่การรองเที่ยวชมทะเลหมอก และสภาพทิวทัศน์ทั่วไปเป็นอย่างมาก พื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่เมยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดจากทะเลอันดามัน ประกอบกับอยู่ในตำแหน่งด้านหน้าเขา ทำให้ได้รับลมมรสุมมากกว่าบริเวณอื่น มีฝนตกชุกเหมือนภาคใต้ฝั่งตะวันตก จะมีฝนตกชุกมากในฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – เดือนตุลาคม ซึ่งไม่เหมาะสมต่อการท่องเที่ยว ฤดูร้อนอากาศค่อนข้างอบอุ่น และจะหนาวถึงหนาวจัดในฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวชมทะเลหมอก และสภาพทิวทัศน์ทั่วไปเป็นอย่างมาก อุทยานแห่งชาติแม่เมย

Flickr Stream

About Us

Recent Tweets

Social Networks

Youtube Vimeo Flickr Picasa Reddit Subscribe via RSS

Facebook Google+ Delicious Twitter Pinterest Linkedin

Subscribe Letters

Scroll to Top